บริการจัดการแมลงและสัตว์รบกวนอื่นๆ



Rounded Image

บริการจัดการ แมลงพาหะ และสัตว์รบกวน

การที่จะควบคุมแมลงพาหะ และ สัตว์รบกวนให้ได้ผลนั้น ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญหลักๆ 4 ประการ คือ วิธีบริการที่ได้ผล เครื่องมือที่เหมาะสม เคมีที่มีประสิทธิภาพ และสุดท้ายคือบุคลากรผู้ให้บริการ ที่มีประสบการณ์ ผ่านการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจนมีความรู้และผ่านการทดสอบจนได้เป็นผู้เชียวชาญ คิงส์ฯให้บริการท่านด้วยองค์ประกอบ 4 ประการดังกล่าวเพื่อให้ผลของงานบริการออกมาได้ดีที่สุด

วิธีบริการที่ได้ผล โดยการใช้หลักการแบบผสมผสาน (IPM – Integrated Pest Management)

เราให้บริการจัดการแมลงโดยยึดหลักบูรณาการ (IPM – Integrated Pest Management) มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการบริการจัดการแมลงเพื่อให้ได้ผลงานที่ดี และปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย ตามหลักปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับและใช้กันเป็นสากลในต่างประเทศ

1. การสำรวจสถานที่ก่อนปฎิบัติงาน (Preliminary Inspection)
การตรวจเช็คโดยละเอียดตามจุดต่างๆโดยเน้นเป็นพิเศษในบริเวณที่มักพบปัญหา เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องเก็บของ ห้องใต้บันไดปล่องหุ้มท่อน้ำทิ้ง ท่อน้ำทิ้ง ท่อระบายน้ำ รวมถึงรอยแตกร้าวของพื้นและผนังต่างๆ

2. การสำรวจจำนวน และ แจกแจงชนิด (Monitoring and Identification)
การสำรวจจำนวนประชากรแมลงและสัตว์รบกวนต่างๆที่พบ และจำแนกแจกแจงชนิดของแมลงและสัตว์รบกวน เพื่อการวางแผนปฎิบัติงานในขั้นตอนต่อๆไปที่แม่นยำและได้ผล

3. การเลือกวิธีจัดการและการจัดการที่เหมาะสม (Planning and Control)
การเลือกวิธีในการจัดการแมลงและสัตว์รบกวนที่เหมาะสมกับพื้นที่และสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยยึดหลักการแบบบูรณาการ ที่เป็นการผสมผสานวิธีการต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริการ แบ่งเป็นสามประเภท ได้แก่ การแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมและสุขาภิบาล การจัดการด้วยวิธีกล และ การจัดการด้วยวิธีทางเคมี
  • การแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมและสุขาภิบาล (Sanitation and Environmental Alteration) การปรับสภาพแวดล้อมและสุขาภิบาลโดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าของสถานที่ เป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลในระยะยาวในการควบคุมแมลงและสัตว์รบกวน ตัวอย่างเช่น การอุดรอยน้ำรั่วตามหลังคาเพื่อลดความชื้นซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดปลวก การอุดรอยร้าวตามพื้นหรือกำแพงเพื่อปิดทางเข้าออกสู่ภายในอาคารของมดแมลงสาบ การปิดท่อน้ำทิ้งด้วยตะแกรงหรือตาข่ายเหล็กเพื่อปิดทางเดินของหนู การจัดการขยะที่ดีไม่หมักหมมเพื่อลดแหล่งหากินของ หนู มด และ แมลงสาบ หรือ การติดม่านลมบริเวณประตูเข้าออกอาคารเพื่อลดจำนวนยุงที่จะบินเข้าสู่อาคาร เป็นต้น
  • การจัดการด้วยวิธีกล (Mechanical Control) การจัดการด้วยวิธีกล เป็นอีกวิธีในการควบคุมจำนวนประชากรแมลงและสัตว์รบกวน เช่น การวางกับดักหนู การวางกับดักกาว เป็นต้น
  • การจัดการด้วยวิธีทางเคมี (Chemical Control) การจัดการด้วยเคมีนั้นจะถูกเลือกใช้ก็ต่อเมื่อมีการสำรวจพบจำนวนแมลงหรือสัตว์รบกวนแล้วเท่านั้น เป็นวิธีที่ปฎิบัติแล้วเห็นผลในการลดจำนวนประชากรแมลงหรือสัตว์รบกวนได้เร็ว แต่ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีความรู้ ผ่านการอบรม และ ทำงานด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการใช้เคมี โดยเคมีที่จะใช้ในการควบคุมแมลงและสัตว์รบกวน จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดแมลงและสัตว์รบกวนและบริเวณพื้นที่ ที่พบปัญหา
4. การตรวจเช็คหลังปฎิบัติงาน การประเมินผลและทำรายงาน (Post-Inspection, Evaluation and Reporting)
การตรวจเช็คอีกครั้งโดยละเอียดตามจุดต่างๆที่มีรายงานว่าพบปัญหาแมลงหรือสัตว์รบกวน หลังจากที่ได้มีการจัดการไปแล้ว เพื่อสำรวจปัญหาและประเมินผลการทำงาน รวมทั้งการนำผลไปปรับใช้กับการทำงานในครั้งต่อๆไป และการทำรายงานเพื่อสรุปผลของการปฏิบัติงานอีกด้วย